วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

บรรณานุกรม


กฤตยา   อาชวนิจกุล.  (2552).  ถึงเวลาต้องเข้าใจและแก้ไขความรุนแรงทางเพศ เอดส์และท้องไม่พร้อม.  พิมพ์ครั้งที่1.   กรุงเทพมหานครฯ.  เดือนตุลา.
ครรชิด   ลิมปกาญจนารัตน์.  (2532,1 มกราคม).  “การเฝ้าระวังโรคเอดส์”.  วารสารโรคเอดส์,   1(1),35-39.
ซูม,  (22 กรกฎาคม 2557). “ข่าวดีจากยูเอ็นควบคุมเอดส์ได้”.  ไทยรัฐ.  หน้า7.
ประเสริฐ  ทองเจริญ.  (2538).  กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมหรือโรคเอดส์. ในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯเล่มที่20. หน้า243-269.  กรุงเทพมหานครฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
แพทย์ไทยสุดเจ๋ง รักษาเอดส์ให้หายขาดได้”. [ออนไลน์].  (2556). เข้าถึงได้จาก : www.komchadluek.net/detail/20130315/153948.  (วันที่สืบค้นข้อมูล : 24 กรกฎาคม 2557).

วิธีการป้องกันการติดเชื้อเอดส์




1. การมีเพศสัมพันธ์ต้องแน่ใจว่าคู่ครองไม่มีเชื้อเอดส์หากไม่แน่ใจควรสวมถุงยางอนามัย ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
2. ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่นขายบริการทางเพศ หรือชาย-หญิงที่มีคู่นอนหลายคนหรือมี เพศสัมพันธ์กับผู้อื่นที่มิใช่คู่ครองของตนควรตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอดส์ ถ้าพบจะได้ป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ ไปถึงผู้อื่นอีก

3. ก่อนแต่งงานควรตรวจเอดส์ทั้งชายหญิง และเมื่อแต่งงานแล้วควรมีความรับผิดชอบต่อครอบครัวโดยไม่นำตัวเองไปรับเชื้อ หรือไม่นำเชื้อมาแพร่ให้คู่ครองหากเผลอนอกใจคู่ครอง ต้องกล้าบอกความจริง และควรสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์กับคู่ครองจนกว่าจะตรวจให้ แน่ใจว่าไม่ติดเชื้อเอดส์

4. สตรีที่ติดเชื้อเอดส์ควรขอรับคำแนะนำก่อนการตั้งครรภ์เพราะเชื้อเอดส์สามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้

5. ถ้าจำเป็นต้องใช้เข็มฉีดยา ต้องใช้เข็มฉีดยาที่สะอาดและไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น




ผลกระทบ





โรคเอดส์เป็นปัญหาที่แพร่กระจายเข้าไปในทุกภูมิภาคของโลก เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ และหากติดเชื้อเอดส์แล้วจะส่งผลกระทบในหลายๆด้านต่างๆมากมาย อาทิ
1. ผลกระทบต่อตัวผู้ติดเชื้อ
           1.1 ปัญหาด้านสุขภาพที่เสื่อมโทรม และมีอาการป่วยเรื้อรัง เนื่องจากภูมิคุ้มกันบกพร่อง
           1.2 ปัญหา ด้านจิตใจ เช่น มีความกลัว ความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการ ความมั่นคงของครอบครัว การยอมรับจากบุคคลรอบข้าง และสถานภาพทางสังคม ซึ่งส่งผลให้สูญเสีย
ความภาคภูมิใจ รู้สึกว่าเป็นคนไร้คุณค่า และสิ้นหวัง
           1.3 ปัญหาด้านการเงิน เนื่องจากศักยภาพในการทำงานน้อยลงแต่มีค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลสุขภาพของตนเองเพิ่มมากขึ้น
           1.4 ปัญหาครอบครัว โดยเฉพาะกรณีที่สมาชิกในครอบครัวมีความรู้และทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ป่วยเอดส์ และไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในครอบครัวได้
2. ผลกระทบที่มีต่อตัวบุคคลรอบข้าง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกในครอบครัวเนื่องจากการมีผู้ป่วยเอดส์ในครอบครัวเป็นเรื่องที่สมาชิกในครอบครัวทำใจ และยอมรับได้ยาก ก่อให้เกิดผลกระทบทางจิตใจ ทำให้สมาชิกในครอบครัวต้องมีภาระในการดูแลผู้ป่วยหากผู้ป่วยเป็นหัวหน้าครอบครัวยิ่งก่อให้เกิดผลกระทบมากยิ่งขึ้นและขยายวงของผลกระทบไปสู่สังคมและประเทศ เช่น กรณีครอบครัวล่มสลาย กรณีเด็กกำพร้า เด็กไร้การศึกษา เป็นต้น
3. ผลกระทบต่อสังคมทั้งในแง่คุณภาพของประชากร ความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจ ภาระของประเทศในการจัดสรรงบ ประมาณเพื่อดูแลผู้ป่วย และปัญหาสังคมอีกมากมายที่เป็นผลมาจากแพร่กระจายของโรคเอดส์ เช่น ปัญหาเด็กกำพร้า เด็กเร่ร่อน ฯลฯ

อาการของผู้ที่ติดเชื้อเอดส์



ระยะที่ 1ระยะที่ไม่มีอาการอะไร
 


ภายใน2-3 อาทิตย์แรกหลังจากได้รับเชื้อเอดส์เข้าไป ราวร้อยละ 10 ของผู้ติดเชื้อจะมีอาการคล้ายๆ ไข้หวัด คือมีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต ผื่นตามตัว แขน ขาชาหรืออ่อนแรง เป็นอยู่ราว 10-14 วันก็จะหายไปเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่สังเกตนึกว่าคงเป็นไข้หวัดธรรมดาราว 6-8 สัป- ดาห์ภายหลังติดเชื้อ ถ้าตรวจเลือดจะเริ่มพบว่ามีเลือดเอดส์บวกได้ และส่วนใหญ่จะตรวจพบว่ามีเลือดเอดส์บวกภายหลัง3เดือนไปแล้วโดยที่ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการอะไรเลยเพียงแต่ถ้าไปตรวจก็จะพบว่ามีภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสเอดส์อยู่ในเลือด หรือที่เรียกว่าเลือดเอดส์บวก ซึ่งแสดงว่ามีการติดเชื้อเอดส์เข้าไปแล้วร่างกายจึงตอบ สนองโดยการสร้างโปรตีนบางอย่างขึ้นมาทำปฏิกิริยากับไวรัสเอดส์ เรียกว่าแอนติบอดีย์ ((( antibody) เป็นเครื่องแสดงว่า เคยมีเชื้อเอดส์เข้าสู่ร่างกายมาแล้วแต่ก็ไม่สามารถจะเอาชนะไวรัสเอดส์ได้คนที่มีเลือดเอดส์บวกจะมีไวรัสเอดส์อยู่ในตัวและสามารถแพร่โรคให้กับคนอื่นได้น้อยกว่าร้อยละ 5 ของคนที่ติดเชื้ออาจต้องรอถึง 6 เดือนกว่าจะมีเลือดเอดส์บวกได ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงมา เช่น แอบไปมีสัมพันธ์กับหญิงอื่นที่ไม่ใช่ภรรยาโดยไม่ได้ใส่ถุงยางอนามัยป้องกันตรวจตอน3 เดือนแล้วไม่พบก็ต้องไปตรวจซ้ำอีกตอน 6 เดือนโดยในระหว่างนั้นก็ต้องใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเวลามีเพศสัมพันธ์กับภรรยา และห้ามบริจาคโลหิตให้ใครในระหว่างนั้นผู้ติดเชื้อบางรายอาจมีต่อมน้ำเหลืองตามตัวโตได้โดยโตอยู่เป็นระยะเวลานานๆคือเป็นเดือนๆ ขึ้นไป ซึ่งบางรายอาจคลำพบเอง หรือไปหาแพทย์แล้วแพทย์คลำพบ ต่อมน้ำเหลืองที่โตนี้มีลักษณะเป็นเม็ดกลมๆ แข็งๆขนาด1-2 เซนติเมตรอยู่ใต้ผิวหนังบริเวณด้านข้างคอทั้ง 2 ข้างข้างละหลายเม็ดในแนวเดียวกัน คลำดูแล้วคลายลูกประคำที่คอไม่เจ็บ ไม่แดง นอกจากที่คอต่อมน้ำเหลืองที่โตยังอาจพบได้ที่รักแร้และขาหนีบทั้ง 2 ข้างแต่ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบมีความสำคัญน้อยกว่าที่อื่นเพราะพบได้บ่อยในคนปกติทั่ว ไปต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้จะเป็นที่พักพิงในช่วงแรกของไวรัสเอดส์โดยไวรัสเอดส์จะแบ่งตัวอย่างมากในต่อมน้ำเหลืองที่โตเหล่านี้ 



ระยะที่ 2 :ระยะเริ่มมีอาการ
เป็นระยะที่คนไข้เริ่มมีอาการแต่อาการนั้นยังไม่มากถึงกับจะเรียกว่าเป็นโรคเอดส์เต็มขั้นอาการใน ช่วงนี้อาจเป็นไข้เรื้อรัง น้ำหนักลดหรือท้องเสียงเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุนอกจากนี้อาจมีเชื้อราในช่องปาก เป็นงูสวัดในช่องปากหรืออวัยวะเพศ ผื่นคันตามแขนขา และลำตัวคล้ายคนแพ้น้ำลายยุง 



ระยะที่ 3 : ระยะโรคเอดส์เต็มขั้น เป็นระยะที่ภูมิต้านทานของร่ายกายเสียไปมากแล้ว ผู้ป่วยจะมีอาการของการติดเชื้อจำพวกเชื้อฉก-ฉวยโอกาสบ่อยๆและเป็นมะเร็งบางชนิด เช่นแคโปซี่ ซาร์โคมา (Kaposi's sarcoma)และมะเร็งปากมดลูกการติดเชื้อฉกฉวยโอกาส หมายถึงการติดเชื้อที่ปกติมีความรุนแรงต่ำไม่ก่อโรคในคนปกติแต่ถ้าคนนั้นมีภูมิต้าน ทานต่ำลงเช่นจากการเป็นมะเร็งหรือจากการได้รับยาละทำให้เกิดวัณโรคที่ปอดต่อมน้ำเหลืองตับ หรือสมองได้ รองลงมาคือเชื้อพยาธิที่ชื่อว่านิวโมซิส-ตีส-คารินิไอซึ่งทำให้เกิดปอดบวมขึ้นได้ (ไข้ ไอ หายใจเหนื่อยหอบ) ต่อมาเป็นเชื้อราที่ชื่อ คริปโตคอคคัส ซึ่งทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ซึมและอา- เจียน นอกจากนี้ยังมีเชื้อฉกฉวยโอกาสอีกหลายชนิด เช่นเชื้อพยาธิที่ทำให้ท้องเสียเรื้อรังและเชื้อซัยโตเมก กะโลไวรัส (CMV) ที่จอตาทำให้ตาบอด หรือที่ลำไส้ทำให้ปวดท้อง ท้องเสีย และถ่ายเป็นเลือดเป็นต้นในภาคเหนือตอนบน มีเชื้อราพิเศษ ชนิดหนึ่งชื่อ เพนนิซิเลียว มาร์เนฟฟิโอชอบทำให้ติดเชื้อที่ผิวหนัง ต่อมน้ำ เหลืองและมีการติดเชื้อในกระแสโลหิตแคโปซี่ ซาร์โค มา เป็นมะเร็งของผนังเส้นเลือด ส่วนใหญ่จะพบตามเส้นเลือดที่ผิวหนังมีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีม่วงๆ แดงๆ บนผิวหนังคล้ายจุดห้อเลือด หรือไฝ ไม่เจ็บไม่คันค่อยๆ ลามใหญ่ขึ้นส่วนจะมีหลายตุ่มบางครั้งอาจแตกเป็นแผลเลือดออกได้บางครั้งแคโปซี่ซาร์โคมาอาจเกิดในช่องปากในเยื่อบุทางเดินอาหารซึ่งอาจทำให้มีเลือดออกมากๆได้นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำ เหลือง หรือมะเร็งปากมดลูกได้ ดังนั้นผู้หญิงที่ติดเชื้อเอดส์จึงควรพบแพทย์เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก 6 เดือน  นอกจากนี้คนไข้โรคเอดส์เต็มขั้นอาจมีอาการทางจิตทางประสาทได้ด้วยโดยที่อาจมีอาการหลงลืมก่อนวัย เนื่องจากสมองฝ่อเหี่ยว หรือมีอาการของโรคจิต หรืออาการชักกระตุกไม่รู้สึกตัว แขนขาชาหรือไม่มีแรง บางรายอาจมีอาการปวดร้าวคล้ายไฟช๊อตหรือปวดแสบปวดร้อนหรืออาจเป็นอัมพาตครึ่งท่อน ปัสสาวะ  อุจจาระไม่ออก เป็นต้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อเอดส์




                เชื้อไวรัสเอชไอวีพบในเลือดและสารคัดหลั่งหลายชนิดของร่างกาย ได้แก่น้ำอสุจิ เมือกในช่องคลอดสตรี น้ำนม น้ำลาย และอาจพบได้ในปริมาณน้อยๆ ในน้ำตาและปัสสาวะ เมื่อพิจารณาจาก แหล่งเชื้อแล้วจะพบว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีติดต่อได้ หลายวิธีคือ
1. การมีเพศสัมพันธ์ เกิดขึ้นได้ทั้งการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน และกับเพศตรงข้าม
2. การรับเลือด และองค์ประกอบของเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะรวมทั้งไขกระดูด และน้ำอสุจิที่ใช้ผสมเทียมซึ่งมีเชื้อ แต่ในปัจจุบันปัญหานี้ได้ลดลงไปจนเกือบหมด  เนื่องจากมีการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีในผู้บริจาคเหล่านี้ รวมทั้งคัดเลือกกลุ่มผู้บริจาคซึ่งไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ไม่รับบริจาค เลือดจากผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น เป็นต้น
3.การใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาเสพติดร่วมกัน และของมีคมที่สัมผัสเลือด
      4.จากมารดาสู่ทารก ทารกมีโอกาสรับเชื้อได้หลายระยะได้แก่เชื้อไวรัสแพร่มาตามเลือดสายสะดือสู่ ทารกในครรภ์ ติดเชื้อขณะคลอดจากเลือดและเมือกในช่องคลอด ติดเชื้อในระยะเลี้ยงดูโดยได้รับเชื้อจากน้ำ นม จะเห็นได้ว่าวิธีการติดต่อเหล่านี้เหมือนกับไวรัสตับอักเสบบีทุกประการ ดังนั้นถ้าไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ก็จะไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ด้วย 

การศึกษาวิจัยทางพันธุศาสตร์





ชี้ว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีมีถิ่นกำเนิดมาจากแอฟริกากลางตะวันตกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โรคเอดส์เป็นที่รู้จักครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาโดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ใน ค.ศ. 1981 ส่วนสาเหตุของโรคและเชื้อไวรัสเอชไอวีนั้นค้นพบในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1980   ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อเอชไอวีสามารถชะลอการดำเนินโรคได้ แต่ยังไม่มีหนทางรักษาให้หายขาด ไม่มีวัคซีน